10 อันดับ พระเครื่องจีน ที่ได้รับความนิยม

10 อันดับ พระเครื่องจีน ที่ได้รับความนิยม
แชร์ให้เพื่อน

เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก ศาสนาพุทธในประเทศไทยได้แบ่งเป็น 2 นิกาย คือ มหายานกับเถรวาท เถรวาทเป็นพุทธศาสนาแบบของไทย พระสงฆ์ไทย วัดไทย ที่เรารู้จักกันอยู่แล้ว ส่วนนิกายมหายานนั้นเป็นพุทธศาสนาแบบจีน ประเทศไทยมีพี่น้องที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนอยู่จำนวนมาก ความศัทธาเรื่องพุทธศานาผ่ายมหายานได้รับการเผยแพร่ในประเทศไทยมายาวนาน มีวัดจีนและพระสงฆ็ฝ่ายมหายาน ในเมืองไทยอยู่หลายที่ วัดจีนแต่ละวัดก็มีการสร้างวัตถุมงคลเพื่อให้สาธุชนได้สักการะ และก็ได้รับความนิยมเช่นกัน บทความนี้จะรวบรวม 10 อันดับ พระเครื่องจีน ที่ไ้รับความนิยม มีดังนี้

 

พระกริ่งจีน
พระกริ่งจีน

1. พระกริ่งใหญ่หรือพระกริ่งจีน

พระกริ่งจีนหรือพระกริ่งใหญ่ จากประเทศจีน พระกริ่งจีนสร้างขึ้นสมัยราชวงศ์ถัง ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 15 มีอายุนานกว่าพันปี ถูกนำเข้ามาในประเทศตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยนั้นไทยมีการค้าขายกับชาวจีน พ่อค้าชาวจีนได้นำสินค้าลงเรือสำเภา เข้ามาค้าขายกับคนไทย และได้มีการนำพระกริ่งติดตัวมาด้วยเพื่อคุ้มครองป้องกันภัย โดยเป็นพระเนื้อโลหะผสมสัมฤทธิ์ หล่อลอยองค์ศิลปะแบบมหายาน ปางสะดุ้งมารพระหัตถ์ซ้ายอุ้มหม้อน้ำมนต์ พระกรขวาวางพระหัตถ์เหนือพระหนุประทับนั่งอยู่เหนือฐานบัวสองชั้น ด้านในบรรจุเม็ดกริ่งไว้ เมื่อเขย่ามีเสียงดัง กรุ๊งกริ๊ง  อันเป็นที่มาของชื่อ “พระกริ่ง”

พระกริ่งคือ รูปที่จำลองจากองค์พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า 1 ใน 3 กายภาคของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวพุทธนิกายมหายาน

พ่อค้าชาวจีนเมื่อเสร็จธุรกิจค้าขายก่อนกลับก็มอบพระให้กับพ่อค้าชาวไทย หรือบางคนมอบเป็นบรรณาการกับเจ้าหน้าที่กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พระกริ่งจีนนี้ถือเป็นต้นแบบของพระกริ่งไทยที่สร้างกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน

 

พระเครื่องจีน
หลวงปู่ไต้ฮงกง

2. อากงหรือหลวงปู่ไต้ฮงกง

หลวงปู่ไต้ฮงกง ท่านเกิดที่เมืองเวิ้นโจว มณฑลเจ่อเจียง เมื่อปี พ.ศ.1582 สมัยราชวงศ์ซ้ง เกิดในตระกูลลิ้ม มีชื่อเดิมว่า “หลิงเอ้อ” ท่านศึกษาทั้งทางวิชาการสามัญและทางพุทธศาสนา ท่านจบเป็นบัณฑิตเอก  และสอบเข้ารับราชการเป็นจอหงวนหรือนายอำเภอ เมื่ออายุ 54 ปี ท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและมาบวชเป็นพระเป็นเวลายาวนาน ในมณฑลฮกเกี้ยน

เมื่อท่านมีอายุ ได้ 81 ปี ท่านได้ธุดงค์มาถึงอำเภอเตียเอี้ยเมืองแต้จิ๋ว ท่านพำนักอยู่ที่วัดเมี๋ยนอันกวน  ตำบลฮั่วเพ้ง ได้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอยู่ประจำ ทั้งพายุน้ำท่วม ภัยแล้งไฟไหม้ โรคระบาด ประชาชนคนล้มตายจำนวนมาก ท่านได้เก็บศพไปฝังให้โดยไม่รังเกียจ ท่านตั้งศาลาบำบัดรักษาโรค จัดหาอาหารสิ่งของให้ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเดือดร้อน มีลูกศิษย์ของท่านที่ศรัทธามาช่วยท่านมากมาย หลวงปู่ท่านมีความเมตตาช่วยเหลือผู้ยากไร้และศพผู้เสียชีวิตที่ไม่มีญาติ

รูปหล่อบูชาหลวงปู่ไต้ฮงกงประดิษยฐานที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดกรุงเทพ ทุกวันจะมีประชาชนที่ศรัทธาเข้าไปกราบไว้ขอพรหลวงปู่มากมาย และทำบุญบริจาคโลงศพกันทั้งวัน

 

พระเครื่องวัดมังกร
พระเครื่องวัดมังกร

3. วัดเล่งเน่ยยี่หรือมังกรกมลาวาส

วัดมังกรกมลาวาส หรือ “วัดเล่งเน่ยยี่” สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) พระอาจารย์สกเห็งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร ถือได้ว่าเป็นเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์แรกของเมืองไทย

วัดมังกรกมลาวาส สร้างตามศิลปะจีน วัดมังกรอยู่คู่กับพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนมากว่า 100 ปี ประชาชนเดินทางมากราบไหว้ตลอดเนื่องแน่ทุกวัน ยิ่งช่วงเทศกาลตรุษจีน เทศกาลกินเจ คนยิ่งแน่น วัดมังกรได้สร้างวัตถุมงคลมากมาย โดยแต่ละรุ่นได้รับความนิยมจะประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวัตถุมงคลประเภทกันชง ปีชง จะได้รับความนิยมมาก ดูข้อมูลเพิ่มวัดมังกรกมลาวาส

 

เหรียญเห้งเจีย
เหรียญเจ้าพ่อเห้งเจีย

4. ศาลเจ้าเห้งเจีย

ศาลเห้งเจีย หรือที่ชาวไทยเชื้อสายจีนเรียกว่า ศาลเจ้าไต้เสี่ยฮุกโจ้ว ศาลเจ้าเห้งเจียตั้งอยู่ที่วัดสามจีน (ปัจจุบันคือ วัดไตรมิตร) เจ้าพ่อเห้งเจียซึเป็นปางไต้เสี่ยฮุกโจ้ว เป็นปางสำเร็จอรหันต์แล้ว นั่งขัดสมาธิบนดอกบัวบาน องค์พระทแกะสลักขึ้นจากไม้มงคลลงรักปิดทอง ศาลนี้เป็นศาลเจ้าพ่อเห้งเจียแห่งแรกในเมืองไทย มีอายุกว่า 200 ปี  เป็นที่ศัทธาของชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน ด้วยแรงศรัทธานี้ จึงมีประชาชนทั่วสารทิศเดินทางมากราบไหว้ขอพรเจ้าพ่อเห้งเจียทุกๆ วัน

 

พระเครื่องจีน
เหรียญเจ้าพ่อเสือ

5. ศาลเจ้าพ่อเสือ

ศาลเจ้าพ่อเสือหรือที่คนไทยเชื้อสายจีนเรียกว่า ตั่วเหล่าเอี๊ย สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 3) ตั้งอยู่ถนนตะนาว เสาชิงช้า อำเภอพระนคร จังหวัดกรุงเทพ  เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี่ยนส่งเต้ รูปหล่อเจ้าพ่อเสือ รูปหล่อเจ้าพ่อกวนอูและรูปหล่อเจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าพ่อเสื้อมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ขออะไรได้ดังใจ จึงมีประชาชนหลั่งไหลกันมากราบไหว้ทุก ๆ วัน ยิ่งในเทศกาลตรุษจีน เทศกาลกินเจ ศาลเจ้าพ่อเสือจะมีจัดงานใหญ่ มีผู้คนมากราบไหว้เจ้าพ่อเสือกันมากมาย ดูข้อมูลเพิ่มเติมศาลเจ้าพ่อเสือ

 

เหรียญแป๊ะโรงสี
เหรียญแป๊ะโรงสี

6. แป๊ะโรงสี

เซียนแป๊ะโรงสีหรืออาจารย์โง้วกิมโคย ชื่อเดิม  โง้วกิมเคย เป็นชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ท่านได้แต่งงานกับ นางนวลศรี เอี่ยมเข่ง มีบุตรรวม 10 คน สมัยนั้นท่านมีอาชีพขายข้าวเปลือก ท่านได้ตั้งโรงสีชื่อว่า “โรงสีไฟทองศิริ” อยู่ที่คลองเชียงราก ต่อมาท่านโอนสัญชาติเป็นไทย เปลี่ยนชื่อเป็น “นายนที ทองศิริ” กิจการโรงสีของท่านขยายมากขึ้นทำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า แป๊ะกิมโคย

อาแป๊ะชอบช่วยเหลือคนอื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ทำให้เป็นที่เคารพรักของชาวบ้าน กล่าวกันว่าท่านมีองค์ของพ่อปู่ศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าด้วย ท่านมักจะจุดธูปเพื่อปัดเป่าลมฝนในงานเทศกาลประจำปี ซึ่งก็แปลกที่ฝนก็จะไม่ตกเลยในวันนั้น ท่านได้ชักชวนญาติมิตรทำการบูรณะศาลเจ้าเป็นประจำ 

อาแป๊ะยังเชี่ยวชาญเรื่องดูโหงวเฮ้ง ฮวงจุ้ยในการตั้งร้าน เปิดบริษัท หรือฮวงจุ้ยบ้านอยู่อาศัย ท่านแนะนำให้ใคร ก็ต่างก็ประสบความสำเร็จกันทั้งนั้น ผู้คนทั้งจากในไทยและต่างประเทศต่างหลั่งไหลพากันมาหาท่าเพื่อขอคำปรึกษาเรื่องทำเลบ้าน ฮวงจุ้ยที่อยู่อาศัยกันอย่างมาก แป๊ะโรงสีได้เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2526 แม้ท่านเสียชีวิตแล้วแต่ชื่อเสียงความดีงามของท่านก็ยังคงอยู่ มีผู้คนมากมายยังไปกราบไหว้ท่าน มีรูปจำลองของท่านที่ตั้งอยู่ที่วัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี กันอย่างต่อเนื่อง

 

เหรียญเจ้าแม่ทับทิม

7. ศาลเจ้าแม่ทับทิม

เจ้าแม่ทับทิมหรือ “จุ้ยบ้วยเนี้ย” ท่านเป็นเทพแห่งท้องทะเลหรือเทพแห่งการเดินเรือ จุ้ยบ้วยเนี้ยจะเป็นที่เคารพนับถือของชาวประมงและนักเดินเรือ ชาวจีนไหหลำ ในอดีตที่ยังมีการค้าขายทางเรือสำเภากันระหว่างไทยกับจีน ชาวจีนไหหลำจะเดินทางมาค้าขายกับชาวไทย ชาวจีนไหหลำหลายคนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ก็จะรวมกันตั้งศาลเจ้าแม่ทับทิมไว้กราบไหว้ ความศักดิ์สิทธ์ของเจ้าแม่ทับทิมก็ได้เป็นที่ศรัทธาต่อคนไทยด้วย จึงมีการสร้างศาลเจ้าแม่ทับทิมเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ศาลเจ้าแม่ทับทิมที่มีคนนิยมไปกราบไหว้คือ ศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง ศาลเจ้าแม่ทับทิม ถ.จักรเพชร เป็นต้น

 

เหรียญเจ้าแม่กวนอิม
เหรียญเจ้าแม่กวนอิม

8. พระโพธิสัตว์กวนอิม

 

เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเป็นพระราชธิดาองค์เล็กของกษัตริย์แห่งอาณาจักรซิงหลิง พระบิดานามว่า พระราชาเมี่ยวจง กับ พระมารดานามว่า พระนางโปยาเทวี เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่คิดจะอภิเษกสมรส ท่านมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ท่านได้ออกบำเพ็ญพรตบวชเป็นภิกษุณีที่วัดนกขาว เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้บำเพ็ญบารมี จิตใจมีเมตตา ทานให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ 

ในเมืองไทยมีวัดและศาลเจ้าที่ประดิษฐานรูปเหมือนเจ้าแม่กวนอิมไว้หลายแห่ง ส่วนพระเครื่องที่พระเกจิอาจารย์ไทยได้ปลุกเสก เช่น เหรียญเจ้าแม่กวนอิม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เหรียญเจ้าแม่กวนอิมประทานพรสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศน์ เป็นต้น

 

เจ้าพ่อยีโกฮง
เจ้าพ่อยีโกฮง

9. เจ้าพ่อยีกอฮง

ศาลเจ้าพ่อยีกอฮงตั้งอยู่ชั้นบนดาดฟ้าของสถานีตำรวจพลับพลาไชย เจ้าพ่อยีกองฮง ท่านมีชื่อเดิมว่า “เตี่ยง แซ่แต้” ท่านเป็นลูกคนจีนที่เกิดในเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ. 2391 เจ้าพ่อยีกอฮงได้รับการขนานนามว่า เทพเจ้าแห่งการพนัน ถ้าเป็นคนชอบเล่นหวยก็จะยกย่องท่านเป็น เทพเจ้าหวยแห่งสยามประเทศ คนที่ชอบในการเสี่ยงโชคมักจะมากราบไหว้ขอพรเจ้าพ่อยีกอฮง เมื่อใกล้วันหวยออกคนจะมาของเลขเด็ดกันมากเป็นพิเศษ

 

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

10. ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ท่านเกิดในครอบครัวตระกูลแซ่ลิ้ม ในสมัยพระเจ้าซื่อจ้งฮ่องเต้ ในราชวงศ์เหม็ง ประมาณปีพ.ศ. 2065 บ้านเดิมอยู่ที่ มณฑลฮกเกี้ยน เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นเทพแห่งความเมตตา โชคลาภค้าขาย เป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยทั่วประเทศ มีประชาชนเดินทางมากราบไหว้ขอพรเพื่อเป็นศิริมงคลกันมาก ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจะมีงานประเพณีแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวในวันขึ้นทุกปี ช่วงเดือนกุมภาพันธ์

สรุป

พระเครื่องจีน เป็นวัตถุมงคลที่วัดจีนจัดสร้าง ปลุกเสก แจกให้ผู้ที่มากกราบไว้ได้บูชาไปเป็นของมงคลไว้ปกป้องคุ้มครองภัย ซึ่งทั้งคนจีนคนไทยก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากวัดจีนและศาลเจ้าต่าง ๆ นั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของของสังคมไทย

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

หากที่บ้านของท่านมีพระ และต้องการปล่อยพระ

ติดต่อเราได้เลย

ร้านไมตรีรับเช่าพระ พระเครื่อง พระบูชาเก่า – ใหม่ทุกชนิด ให้ราคาสูงที่สุด จนท่านพอใจ

โทร084-4493578

ดูรายละเอียดการรับเช่าพระ ที่นี่


แชร์ให้เพื่อน