เราสร้างพระไปทำไม สะสมพระไปเพื่ออะไร

เราสร้างพระไปทำไม เล่นพระไปเพื่ออะไร
แชร์ให้เพื่อน

คนไทยนับถือศาสนาพุทธ คติความเชื่อของคนไทยนิยมสร้างพระมากว่า 1,000 ปี มีคำถามจากผู้คนมากมายว่า เราสร้างพระไปทำไม และคนเราสะสมพระไปเพื่ออะไร การสร้างพระในสมัยโบราณ การเก็บสะสมพระในสมัยก่อน มีความเชื่อความศรัทธาเป็นอย่างไร จุดประสงค์ของการสร้างพระ การสะสมพระเป็นอย่างไร ในบทความนี้จะเจาะลึกถึงความเชื่อด้านพระเครื่อง ของกลุ่มคนแต่ละประเภท เราสร้างพระไปทำไม มีคำตอบในบทความนี้

 

พระพุทธรูป
พระพุทธรูป

สร้างพระไปเพื่ออะไร

1. สร้างเพื่อเอาบุญ

คนไทยมีความเชื่อว่าการสร้างพระพุทธรูป เป็นบุญใหญ่ยกใจชาวพุทธให้สูงขึ้นเมื่อได้มากราบไหว้พระ การสร้างพระพุทธรูปถือว่าเป็นการสร้างบุญใหญ่ที่สูงยิ่ง บุญกุศลนี้มีอานิสงส์ดังนี้

1.1 ผู้สร้างพระพุทธรูป จะมีจิตใจสูงส่งตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไป มีความใฝ่ดีเป็นพื้นฐานของใจ

1.2 บุญนี้จึงส่งผลให้เป็นที่เคารพของมนุษย์และเทวดา

1.3 ไม่ว่าผู้สร้างพระพุทธรูปนั้นจะเสียชีวิตไปแล้ว หากมีผู้มากราบไหว้พระพุทธรูปที่เขาสร้างไว้ บุญนี้ก็จะตามส่งผลให้กับผู้สร้างพระตลอดไป

1.4 ด้วยบุญกุศลนี้จะทำให้ผู้สร้างพระเกิดในร่มเงาพระพุทธศาสนาในทุกภพทุกชาติ และพระเข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย

อ่านเพิ่มเติม : อานิสงส์การสร้างพระ

 

2. สร้างเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา

คนที่มีเจตนาสร้างพระเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนานั้น ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พระมหากษัตริย์ หรือเศรษฐีคหบดีที่ใฝ่ในธรรมะ เนื่องจากการสร้างเพื่อสืบทอดพระศาสนานั้น จะเป็นพิธีกรรมใหญ่มีการสร้างพระจำนวนมากทั้งพระพุทธรูปและพระเครื่อง โดยเฉพาะพระเครื่องนิยมสร้างจำนวน 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เมื่อสร้างแล้วจะแจกจ่ายกับสาธุชน ส่วนที่เหลือก็จะบรรจุกรุไว้ในพระเจดีย์บ้าง ในพระปรางค์บ้าง ในพระพุทธรูปบ้าง เพื่อสืบทอดพระศาสนา

อ่านเพิ่มเติม : ประวัติการสร้างพระเครื่องไทย

 

 

เราสร้างพระไปทำไม
พระพุทธรูปในวิหาร

3. สร้างเพื่อระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

การสร้างพระในยุคแรก ๆ นั้น นิยมสร้างเป็นรูปจำลองของพระพุทธเจ้า เช่น พระเครื่องสมัยศรีวิชัย สมัยทราวดี เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ในสมัยศรีวิชัย ทราวดี เชียงแสน นิยมสร้างองค์เล็ก มีทั้งบรรจุกรุและไว้บูชาตามบ้านเรือน ส่วนตั้งแต่ยุคสุโขทัยเป็นต้นมา มีการสร้างพระพุทธรูปเป็นองค์ใหญ่ ๆ เช่น พระประธานประจำโบสถ์ วิหาร รวมทั้งสร้างพระเครื่ององค์เล็ก ๆ ไว้ติดกายและไว้บูชาตามบ้านเรือน

ต่อมามีการสร้างจำลองรูปเหมือนพระอริยสงฆ์ที่คนในสมัยนั้นศรัทธา เช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นต้น

การสร้างเพื่อระลึกถึงพระธรรม ส่วนใหญ่จะสร้างเป็นพระคัมภีร์ หรือในสมัยปัจจุบันนิยมพิมพ์หนังสือธรรมะแจก

 

4. สร้างเพื่อการพาณิชย์

ยุคต่อมาเมื่อมีผู้นิยมสะสมพระเครื่องเพิ่มมากขึ้น เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนขึ้นมา พอความต้องการมีมากขึ้น จำนวนพระที่เล่นหากันเริ่มหายาก มีน้อยลง จึงได้เกิดการสร้างพระขึ้นมาเพื่อจำหน่ายเป็นธุรกิจการค้า โดยธุรกิจการสร้างพระเครื่องนั้นเริ่มเห็นเป็นจริงเป็นจังหลังปี 2530 ทั้งนักธุรกิจ ทั้งเซียนพระต่างสร้างพระเครื่องขึ้นมาเพื่อจำหน่ายกันเป็นล่ำเป็นสัน เพื่อสนองต่อความต้องการของนักเล่นพระที่เพิ่มขึ้น

 

 

แผงพระ
แผงพระ

คนสะสมพระเพื่ออะไร

1. สะสมเพราะศรัทธาในพุทธคุณ

นักสะสมพระเครื่องที่ก้าวเข้ามาในวงการนี้เป็นคนที่รักและศรัทธาในพุทธคุณพระเครื่องอย่างจริงใจไม่มีพระเครื่องเป็นวัตถุมงคล เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยในคนกลุ่มที่ศรัทธาในพุทธคุณยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

          1.1 ศรัทธาในองค์พระพุทธเจ้า คนที่ศรัทธาในพระพุทธเจ้าหรือคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะชอบสะสมพระเครื่องที่เป็นรูปจำลองของพระพุทธเจ้า พระพุทธรูป เหรียญพระพุทธวัดต่าง ๆ เช่น พระแก้วมรกต หลวงพ่อพระพุทธชินราช หลวงพ่อโสธร เป็นต้น

          1.2 ศรัทธาในพระเกจิอาจารย์ คนที่ศรัทธาในพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ นั้น โดยมากจะเป็นลูกศิษย์ของพระรูปนั้น ๆ หรือเป็นคนที่ได้รับฟังการกล่าวขานกิตติศัพท์ของพระเกจิอาจารย์ เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ โดยคนที่สะสมพระเครื่องสายพระเกจิก็จะสะสมพระเครื่องของพระเกจิที่ตนเองศรัทธา บางคนก็อาจเก็บสะสมหลายสายเพราะศรัทธาหลายองค์

 

2. สะสมเพราะชอบในศิลปะ

พระเครื่อง พระบูชา ถือได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นศิลปะที่ถูกบรรจงสร้างขึ้นด้วยความงดงาม ตามประวัติแล้วพระเครื่องได้ถูกสร้างขึ้นมากว่า 1.000 ปี ผ่านกาลเวลา บรรพบุรุษได้บรรจงสร้างงานศิลป์บนพระเครื่อง เปรียบเหมือนการบันทึกประวัติศาสตร์ผ่านพุทธศิลป์ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสาน พระเครื่องแต่ละยุคแต่ละสมัยก็มีกรรมการสร้างที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองตามแต่ละท้องถิ่น พระเครื่องถือเป็นวัตถุโบราณอย่างหนึ่ง คนที่ชอบในศิลปะของพระเครื่องก็มีการแบ่งพระเครื่องเป็นหลายยุคสมัย เช่น ยุคทราวดี ยุคหริกุญชัย ยุคเชียงแสน ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา ยุครัตนโกสินทร์ เป็นต้น

 

พระเครื่อง
พระเครื่อง

3. สะสมเป็นเชิงพาณิชย์

เมื่อพระเครื่องมีคนให้ความสนใจเข้ามาเก็บสะสม แต่เดิมการทำธุรกิจกับพระเครื่องยังไม่มี จะมีแต่การแลกเปลี่ยนกัน คือ เอาพระเครื่องมาแลกเปลี่ยนกัน แต่ต่อมาภายหลังคนเริ่มเข้ามาในวงการพระเครื่องมากขึ้น ๆ วงการพระเครื่องเติมโตขึ้น มีนักสะสมหน้าใหม่ก้าวเข้ามาในวงการมากขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนพระเครื่องไม่เพียงพอต้องความต้องการ จึงเกิดการซื้อขายพระเครื่องกันขึ้น จนต่อมาพัฒนาเป็นธุรกิจขึ้น มีการเปิดสนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง ขึ้นมาเพื่อรองรับการขยายตัวของวงการพระเครื่อง

 

สรุป

เราสร้างพระไปทำ หรือเราสะสมพระไปเพื่ออะไร เป็นความเชื่อส่วนบุคคล แต่ละคนมีจุดประสงค์ไม่เหมือนกัน การสร้างพระของบรรพบุรุษถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นศิลปะสกุลช่างระดับสูงสุดของยุคสมัยที่รุ่งเรืองในแต่ละยุค การสร้างพระ การสะสมพระ ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ยุคสมัยนี้การสร้างพระและสะสมพระอาจแตกต่างไปจากสมัยก่อน เนื่องจากมีเรื่องของการพานิชย์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถึงอย่างไรก็แล้ว เรื่องความเชื่อความศรัทธาของพระเครื่องยังอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยอย่างแยกไม่ออก

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

หากที่บ้านของท่านมีพระ และต้องการปล่อยพระ

ติดต่อเราได้เลย

ร้านไมตรีรับเช่าพระ พระเครื่อง พระบูชาเก่า – ใหม่ทุกชนิด ให้ราคาสูงที่สุด จนท่านพอใจ

โทร. 084-4493578

ดูรายละเอียดการรับเช่าพระ ที่นี่


แชร์ให้เพื่อน