10 อันดับ พระเนื้อดิน ยอดนิยม

พระเนื้อดินยอดนิยม
แชร์ให้เพื่อน

พระเนื้อดิน เป็นมวลสารแรก ๆ ที่ใช้เป็นวัสดุในการสร้างพระ เนื่องจากดินเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย เมืองไทยพบพระเครื่องยุคแรกที่สร้างด้วยเนื้อดินมีมากว่า 1,200 ปี การใช้ดินมาสร้างพระได้รับความนิยม นอกจากจะหาได้ง่ายแล้ว พระเนื้อดิน เมื่อนำมาเผาไฟจะคงสภาพอยู่ได้นาน ดังนั้นในสมัยโบราณจึงนิยมสร้างพระด้วยเนื้อดิน ในบทความนี้จะรวบรวม พระกรุเนื้อดิน ที่ได้รับความนิยม 10 อันดับ จะมีอะไรบ้างมาดูกันครับ

 

พระรอด

 

  1. พระรอด วัดมหาวัน

พระรอดสร้างในสมัยของพระนามจามเทวีขณะที่สร้างเมืองขึ้นมาใหม่ โดยมีฤาษีสององค์นามว่า วาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษี เป็นเจ้าพิธี พระรอดกรุ วัดมหาวัน เป็นพระที่มีขนาดเล็กที่สุดของพระในสกุลลำพูน เป็นพระที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ถึงกับได้เข้าบรรจุเป็นหนึ่งพระเบญจภาคี แต่ก็เป็นพระที่มีความนิยมมากที่สุดของพระสกุลลำพูนสนนราคาก็สูงมากเช่นกัน พระรอดที่มีการขุดพบในวัดมหาวันมีพิมพ์เป็นที่ยอมรับกันมีอยู่ 5 พิมพ์ คือ พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์กลาง พระรอดพิมพ์เล็ก พระรอดพิมพ์ตื้น และพระรอดพิมพ์ต้อ ในปัจจุบันพระรอดวัดมหาวันมีมูลค่าสูงมาก องค์ที่มีความสมบูรณ์และสวย ๆ นั้นมูลค่าสูงถึงหลักล้านบาท

พระรอมเป็นหนึ่งในพระเบญจภาคี พระเบญจภาคี มีพระอะไรบ้าง ใครกำหนด

 

พระซุ้มกอ

 

  1. พระซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็น พระกรุเนื้อดิน ที่สุดยอดของเมืองกำแพงเพชร จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ มีพุทธลักษณะสมัยสุโขทัย ของพระซุ้มกอนั้นองค์พระนั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัวอักษร ก.ไก่ คนในยุคนั้นจึงเรียกว่า พระซุ้มกอ พระซุ้มกอ ที่ค้นพบมี 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พิมพ์ใหญ่จะมีทั้งแบบมีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่จะมีสีดำ เรียกว่า พระซุ้มกอดำ

 

พระนางพญา

 

  1. พระนางพญา

พระนางพญา ขุดพบครั้งแรกที่วัดนางพญาใน พ.ศ. 2444 ทางวัดจะสร้างศาลารับรอง ขึ้นด้านหน้าของวัด  เพื่อต้อนรับการเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ตอนช่างขุดหลุมจะลงเสาเอกก็ได้พบ พระนางพญาจำนวนมากฝังจมดินจึงได้เก็บรวบรวมไว้ และเมื่อล้นเกล้า รัชกาลที่ 5 เสด็จมาวัดนางพญา ทางวัดก็ได้นำพระนางพญาส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯ พ่อหลวง และพระองค์ได้นำกลับมาแจกจ่ายให้กับข้าราชบริพารในพระราชวัง ต่อมาใน พ.ศ.2470 สมัยพระอธิการถนอม เป็นเจ้าอาวาส พระเจดีย์ด้านตะวันออกของวัดได้พังลง และได้พบพระนางพญาอยู่ในเจดีย์องค์ดังกล่าวอีกจำนวนหนึ่ง ทางวัดจึงได้รวบรวมออกให้ประชาชนเช่าบูชา

พระนางพญา เป็น พระเนื้อดิน พุทธศิลปะเป็นศิลปะสุโขทัยผสมอยุธยา รูปทรงสามเหลี่ยม องค์พระปางมารวิชัย ด้านหลังเป็นหลังเรียบ แบ่งเป็น คือ พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์เข่าตรง พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา และพิมพ์อกนูนเล็ก

 

พระขุนแผนกรุบ้านกร่าง

 

4. พระขุนแผนกรุบ้านกร่าง

พระกรุวัดบ้านกร่าง ที่นับว่าเป็น พระเนื้อดิน ยอดนิยมของ จ.สุพรรณบุรี แตกกรุออกมาจากพระเจดีย์เก่าที่ชำรุดทรุดโทรมของ วัดบ้านกร่าง พระแตกรุออกมามีจำนวนหลายหมื่นองค์ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระขุนแผนพิมพ์ต่าง ๆ เช่น พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกใหญ่ พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลใหญ่ พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็ก  พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลเล็ก พระขุนแผน พิมพ์แขนอ่อน  พระพลายเดี่ยว พิมพ์หน้าเทวดา  พระพลายเดี่ยว พิมพ์หน้าฤาษี  พระพลายคู่ พิมพ์อกครุฑ  พระพลายคู่ พิมพ์หน้ากลม

สันนิษฐานว่า พระกรุวัดบ้านกร่าง น่าจะสร้างในสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยกทัพมาที่เมืองสุพรรณต่อสู้กับกองทัพพม่าในสงครามยุทธหัตถี พระองค์ทรงสร้างพระเครื่องและบรรจุไว้ที่เจดียวัดบ้านกร่าง

ด้านของพุทธคุณ เด่นในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด เมตตามหานิยม

 

พระคง

 

  1. พระคง,พระบาง

พระคง และ พระบาง เป็นพระสกุลลำพูนยอดนิยมแห่งล้านนา ตามตำนานว่าสร้างโดยฤาษีวาสุเทพเช่นเดียวกันกับ พระรอด มีอายุการสร้างกว่า 1,200 ปี พุทธศิลป์เป็นแบบช่างหลวงหริภุญชัย พระเนื้อดินเผาเนื้อแกร่งมาก ในเนื้อพระจะเห็นเม็ดแร่ สีพระมีหลายเฉกแล้วแต่พระโดนไฟเผาสูงต่ำไม่เท่ากัน อาทิ สีพิกุล สีขาว สีเขียว สีหม้อใหม่ ฯลฯ

พระคง ขุดพบที่วัดพระคงฤาษีเป็นวัดแรก จึงเรียกว่า พระคง พุทธลักษณะพระนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัยประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์  ด้านพุทธคุณ เด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด

 

หลวงพ่อจุก

 

  1. พระหลวงพ่อจุก ลพบุรี

หลวงพ่อจุก เป็นหนึ่งใน พระกรุเนื้อดิน ที่ภาคภูมิใจของลพบุรี มีอายุในราว 800 ปี พุทธลักษณะศิลปะแบบลังกา หลวงพ่อจุก พบจากกรุและเจดีย์ทั่วไปในจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็น พระเนื้อดิน เนื้อชินก็มีมีน้อยมาก เป็นพระมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก ด้วยพุทธลักษณะสวยงาม และพุทธคุณดี ทำให้พระหลวงพ่อจุก ลพบุรี เป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมพระเครื่องอย่างมาก

 

ขุนแผนใบพุดซา

 

  1. ขุนแผนใบพุดซา

พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระขุนแผนใบพุทราได้แตกกรุมาพร้อมพระขุนแผนเคลือบ เป็นศิลปะของอยุธยา เป็นพระเนื้อดิน ปางมารวิชัย ประทับนั่งอยู่บนบัวสองชั้น มีประภามณฑลอยู่เหนือเศียร ใต้ฐานจะมีเส้นลากต่อมา ลักษณะคล้ายก้านพุทรา จึงเรียกกันว่า พระขุนแผน ใบพุทรา ด้านหลังอูม มีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน พระขุนแผนเนื้อดินจะตัดขอบเป็นรูปไข่ แต่เนื้อชิน ซึ้งจะตัดขอบชิดองค์พระ หรือมีปีกเล็กน้อย ด้านพุทธคุณ ด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด

 

หลวงพ่อโต กรุบางกระทิง

 

  1. หลวงพ่อโต กรุบางกระทิง

พระหลวงพ่อโต พระกรุเนื้อดิน ที่เป็นเอกลักษณ์ของ จ.พระนครศรีอยุธยา พระหลวงพ่อโตที่แตกกรุออกมาทั้งหมดมี ๒ พิมพ์ คือพิมพ์ปางมารวิชัย และพิมพ์สมาธิ มี ๒ เนื้อ คือ เนื้อดินและเนื้อชิน พบได้หลายกรุ เช่น กรุวัดบางกระทุ่ง กรุวัดตะไกร กรุวัดใหญ่ชัยมงคล กรุวัดมเหยงค์ กรุวัดพระมหาธาตุ กรุวัดราชบูรณะ กรุบึงพระรามฯ แต่ที่นิยมที่สุด คือ กรุวัดบางกระทิง ด้านพุทธคุณ เด่นทางคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

พุทธคุณหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง จากบทความ 10 สุดยอด พระเครื่องสายเหนียว อยู่ยงคงกระพัน

 

ขุนแผนไข่ผ่าซึก

  1. ขุนแผนไข่ผ่าซึก

พระขุนแผนไข่ผาซีก ค้นพบตามพื้นดินทั่วไปในบริเวณวัดพระรูป สันนิษฐานว่าในอดีตอาจมีพระเจดีย์หลายองค์ล้มพังลงมา แล้วพระขุนแผนก็ได้ตกกระจายทั่วบริเวณวัด ในปี พ.ศ.2508 ทางวัดจะสร้างพระอุโบสถใหม่แทนหลังเก่าซึ่งทรุดโทรม จึงได้ปรับพื้นที่บริเวณโบสถ์ ทำให้ได้พบกับพระขุนแผนไข่ผ่าซีกตกฝังอยู่ใต้พื้นดินจำนวนมากหลายร้อยองค์ และในปีถัด ๆ มามีการก่อสร้างปรับปรุงพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของวัดก็ได้พบพระอีก พุทธลักษณะปางมารวิชัย บนฐานบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้ว เนื้อดินด้านหลังอูม แบ่งเป็น 2 พิมพ์ ตามขนาดขององค์พระ คือ พิมพ์ไข่ผ่าซีก และพิมพ์แตงกวาผ่าซีก

พุทธคุณ เด่นทางด้านคงกระพันชาตรี มหาอุด เมตตามหานิยม

 

พระกรุถ้ำเสือ

 

  1. พระกรุถ้ำเสือ

พระถ้ำเสือ พบครั้งแรกที่เขาถ้ำเสือ จึงเรียกว่า “พระถ้ำเสือ” อยู่ใน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระปางมารวิชัย เนื้อดินผสมผงเกสร เป็นศิลปะอู่ทองผสมทวาราดี มียพิมพ์ 4 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์จิ๋ว พระถ้ำเสือยังพบอีกตามบริเวณถ้ำอื่น ๆ บ้าง ในเจดีย์บ้าง เช่น เจดีย์เขาพระ เขาวงพาทย์ เขาดีสลัก และวัดหลวง สันนิษฐานว่าพระฤาษีที่มาธุดงค์และสร้างไว้ตามถ้ำต่าง ๆ

ด้านพุทธคุณแล้ว เด่นด้านคงกระพัน มหาอุด แคล้วคลาด อ่านเพิ่มเติม 

สรุป

พระเนื้อดิน ในเมืองไทยยังมีอีกมากมายหลายกรุ แต่ละกรุก็จะมีเอกลักษณะพุทธศิลป์ที่สวยงาม พระเนื้อดิน จึงเปรียบเสมือนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เล่าขานผ่านพระเครื่ององค์เล็ก ๆ ที่บรรพบุรุษได้สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา พระกรุเนื้อดิน ที่ตกทอดมาถึงยุคของเรา จึงเป็นหน้าที่ที่เราจะต้องอนุรักษ์ พระเนื้อดิน เหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไปนาน ๆ ให้สมกับเจตนารมย์ของบรรพบุรุษที่สรรค์สร้างขึ้น


แชร์ให้เพื่อน